• Your Cart (0 items)
    0฿
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
  • 0 รายการ
    0฿
คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง
คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง ผู้เขียน : จอห์น แคมป์ฟเนอร์ แปล: เจนจิรา เสรีโยธิน
.- .- (ลด 5%)
400 หน้า
"หนังสือขายดีจากชาร์ต Sunday Times และได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อต่างๆ อาทิ The Guardian, Times, The Economist, New Statesman และ Literary Review"

ใกล้จะได้เห็นหน้าตาของรัฐบาลเยอรมนีชุดใหม่แล้วภายใต้การนำทีมของ โอลาฟ โชลช์ จากพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) ซึ่งสามารถชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุดและเป็นการรับไม้ต่อจาก อังเกลา แมร์เคิล จากพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ที่กุมบังเหียนผู้นำอินทรีย์เหล็กมานานกว่า 16 ปี อีกด้วย แต่ก่อนที่จะไปถึงช่วงเวลานั้น ขอพาผู้อ่านย้อนไปในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเยอรมันกันสักนิด

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีที่พ่ายแพ้อย่างหมดรูป ก็เกิดความแตกแยกทางอุดมการณ์ความคิดเป็นสองขั้ว อันเป็นผลมาจากจุดเริ่มต้นของสงครามเย็น ซึ่งต่อมาไม่นานเยอรมนีก็ถูกแบ่งออกเป็นเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมีตะวันออก และหลังจากนั้นในปี 1961 กำแพงเบอร์ลินก็ถูกสร้างขึ้นในชั่วข้ามคืน

ณ ตอนนั้นคงไม่มีใครคาดคิดว่าเยอรมนีจะผงาดขึ้นมาได้อีกครั้ง เพราะไม่มีประเทศอื่นใดที่จะมีประวัติศาสตร์ปั่นป่วนเท่ากับที่นี่อีกแล้ว แต่หลังจากกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย ทิศทางของเยอรมนีก็ดูจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ และปัจจุบันก็ถือเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง

“คิดแบบเยอรมัน เขาทำกันยังไง” เป็นผลงานของ จอห์น แคมป์ฟเนอร์ นักเขียนและนักข่าว ที่ได้รวมเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของเยอรมนีไว้อย่างรอบด้าน เนื้อหาถูกแบ่งออกเป็นหัวข้อมากกว่าตามลำดับของเวลา แต่ก็ทำให้เห็นภาพรวมและภาพกว้างได้เป็นอย่างดี

หนังสือจะพาเราไปสำรวจแง่มุมต่างๆ ของสังคมเยอรมัน ตั้งแต่บาดแผลที่สงครามทิ้งไว้ การก้าวขึ้นมาของแม่แห่งชาติ อย่างนายกฯ อังเกลา แมร์เคล หญิงแก่งที่ครองเก้าอี้มา 4 สมัย และพาประเทศฝ่าฝันวิกฤตมาแล้วนับไม่ถ้วน

แมร์เคลแทบจะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเลยก็ว่าได้ เธอยืดหยัด แก้ไข และผ่านพ้นทุกปัญหามา แต่ใช่ว่าสิ่งที่เธอทำจะถูกเห็นด้วยทั้งหมด เพราะนโยบายบางอย่างก็สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นภายในประเทศเช่นกัน และสุดท้ายหลังทำงานเพื่อประเทศมา 16 ปี เธอก็ประกาศลงจากตำแหน่ง และไม่ขอลงเลือกตั้งอีก

ไม่ว่าจะเป็นใครที่ขึ้นมาแทนเธอก็ตาม เยอรมันก็ยังต้องเจอปัญหาท้าทายอีกในหลายระดับ อาทิ การขยายอิทธิทางเศรษฐกิจของจีน ความสัมพันธ์กับรัสเซีย รวมถึงการพึ่งพาสหรัฐฯ แล้วไหนจะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนหันมาให้ความสำคัญกันอย่างล้นหลามอีก การเปิดรับผู้ลี้ภัยเองก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

อีกสิ่งที่ทำให้หนังสือเล่มนี้น่าอ่านคือบทสัมภาษณ์นับไม่ถ้วนจากชาวเยอรมันในทุกชนชั้นของสังคม ซึ่งทำให้เราได้เห็นความคิดของพวกเขาอย่างชัดเจน ในเรื่องของความเป็นอยู่ การทำธุรกิจ หรือการให้ความสำคัญกับท้องถิ่น

ทั้งหมดนี้ทำให้เราเห็นว่าทำไมเยอรมนีจึงกลายเป็นแบบอย่างที่หลายประเทศอยากเป็นให้ได้บ้าง พวกเขามีทั้งช่วงที่รุ่งโรจน์ ล้มเหลว พ่ายแพ้ และยืนหยัด ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนนี้ เราคงมองเห็นบทเรียนหลายอย่างได้จากเยอรมนี และจากหนังสือเล่มนี้

-อ่านตัวอย่าง-

สินค้าอื่นที่คุณอาจสนใจ