• Your Cart (0 items)
    0฿
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
  • 0 รายการ
    0฿
Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
  • Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
  • Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
  • Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
  • Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
  • Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม
Parenting Best 100 แนวทางเลี้ยงลูกให้ได้ดีตั้งแต่ 3 ปีจนจบประถม ผู้เขียน : โนริโกะ คาโด แปล: อาคิรา รัตนพิรัต
.- .- (ลด 39%)
488 หน้า ขนาด 14.3 x 21 cm
เลือก “สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก” มาให้แล้ว
ที่ผ่านมาฉันเลี้ยงลูกชาย 1 คนกับลูกสาว 1 คน ขณะเดียวกันก็เขียน ทำแผนโครงการ และเรียบเรียงบทความเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกซึ่งเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ มามากมายเช่น “President Family” “ReseMom” “Diamond Online”
ฉันเคยได้สัมภาษณ์ พูดคุย และชมสถานที่เรียนหรือทำงานจริงของเด็กที่มีความสามารถเป็นเลิศในสาขาต่างๆ รวมถึงครอบครัวของพวกเขา คุณครูหรือนักเรียนที่โรงเรียน โรงเรียนกวดวิชา และโรงเรียนสอนพิเศษ รวมไปถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านการวิจัยต่างๆ แล้วนำข้อมูลใหม่ๆ มาเผยแพร่

ปัจจุบันผู้คนที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษา รวมถึงตัวฉันเองกำลังมีความคิดที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “พ่อแม่ยุคนี้กำลังจมไปกับ ‘ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูก’ ที่มีมากจนเกินไป”
ตัวอย่างความสำเร็จหรือคำแนะนำจากประสบการณ์ของตัวเองจำนวนมากถูกโพสต์ลงบนอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้นิตยสาร หนังสือ หรือสื่อด้านการศึกษาก็พากันใช้วลีติดหูเช่น “เทคนิคประจำบ้านOO” “ความรู้จากคุณแม่XX” เกลื่อนไปหมด

คนสมัยก่อนมักอาศัยข้อมูลและความรู้จากปู่ย่าตายาย ญาติ หรือคนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันไม่เพียงเฉพาะข้อมูลจากทั่วประเทศ เรายังรวบรวมข้อมูลจากทั่วโลกไว้ได้ด้วย ทำให้ข้อมูลมีมากเกินไปจนล้น
#ตำราการเลี้ยงลูกแบบใหม่ที่ตอบรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ในฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนี้ยังได้รวมปัจจัยที่เรียกว่า “ความสามารถที่ไม่ใช่ทักษะทางปัญญา” (ความสามารถที่ไม่อาจวัดได้ด้วยการสอบ) เช่น “ความคิดสร้างสรรค์” “การสื่อคำพูด” “การพึ่งพาตัวเอง” เอาไว้ด้วย

ในอนาคตซึ่งเด็กสมัยนี้จะต้องใช้ชีวิตอยู่ต่อไปต้องการ “ความสามารถในการตั้งคำถามด้วยตัวเอง แล้วร่วมมือกับพวกพ้องเพื่อคิดและสรุปวิธีแก้ปัญหาออกมา” มากกว่า “ความสามารถในการหาคำตอบของปัญหาที่ถูกยื่นให้” ความสามารถที่ไม่ใช่ทักษะทางปัญญาจึงถูกมองว่าเป็นทักษะสำคัญซึ่งจะเป็นพื้นฐานไปสู่สิ่งนั้น

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความหลากหลายทั้งในตัวโรงเรียน การเรียนพิเศษ รวมไปถึงสไตล์การเรียนอีกด้วย เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถูกรวบรวมขึ้นโดยเน้นถึงความสำคัญของ “ทักษะที่จำเป็นต่อสังคมยุคใหม่” เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนไป

สินค้าอื่นที่คุณอาจสนใจ